เราภูมิใจในการนำเสนอให้ทุกท่านทราบเกี่ยวกับการแข่งขัน โคมะ (KOMA Taisen)ครั้งที่ 2 ที่กรุงเทพฯ ในปี 2018 อุตสาหกรรมการผลิตของญี่ปุ่นได้กำหนดอย่างเป็นทางการแล้วว่าจะจัดขึ้นในงาน มหกรรมการจับคู่ทางธุรกิจแห่งปีสำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ 2018 (Mfair Bangkok 2018 Business matching meeting)

 

สมรภูมิรบที่ใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการสรรค์สร้าง โคมะ จากกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กหล่อ เพื่อแสดงศักยภาพของบริษัทของคุณสู่การรังสรรค์ชิ้นงาน โคมะ อันโดดเด่น ซึ่งเราได้กำหนดขนาดความกว้างต้องไม่เกิน 20.00 มิลลิเมตร และความสูงต้องไม่เกิน 60.00 มิลลิเมตร (ไม่จำกัดรูปร่าง วัสดุ และน้ำหนัก)

 

เชิญชมวีดีโอ โคมะ ได้จากลิงค์ด้านล่างนี้ คลิก !!

 


>>รายชื่อบริษัทที่เข้าร่วมการแข่งขัน<<

 


 

 

2020.1.29

2020.1.29

2018.1.29

การประชุมผู้เข้าร่วมการแข่งขัน โคมะ (Koma Taisen 2nd in Bangkok 2018) เกี่ยวกับกฎกติการะเบียบการแข่งขัน ในวันที่ 22 มิถุนายน 2561 ณ.สถาบันเทคโนโลยี

ไทย - ญี่ปุ่น

2018.1.17

สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (TNI) จัดการแข่งขัน

Koma Taisen ภายในและได้เชิญคณะกรรมการ

จัดการแข่งขัน Koma จากบริษัท Castem Siam เข้าร่วมตัดสิน

แผนงาน กำหนดการ และข้อปฏิบัติการแข่งขันโคมะที่กรุงเทพครั้งที่หนึ่ง การแข่งขันโคมะระดับโลก รอบคัดเลือก ปี 2015
วันเวลา :
วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2561 เวลา 10:30 - 16:30
สถานที่ :
ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติไบเทค
BITEC Bangkok International Trade & Exhibition Centre Hall 105
ผู้จัดงาน :
คณะกรรมการดำเนินการการแข่งขันโคมะที่กรุงเทพครั้งที่สองและการแข่งโคมะระดับโลก
รอบคัดเลือก
ผู้ร่วมจัดงาน :
บริษัท Castem (Siam) จำกัด, บริษัท Reed Tradex จำกัด, บริษัท Factory Network Aisa จำกัด
บริษัท Orient Machine จำกัด, บริษัท E - Point จำกัด,บริษัท GOKO Spring จำกัด
All-Japan Koma Taisen Manufacturing Industry Association
ผู้สนับสนุน :
สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย, บริษัท Jetro Bangkok Office
จุดประสงค์
   เพื่อให้ชื่อบริษัทหรือชื่อทีมได้เป็นที่รู้จักต่อชาวโลกด้วยการใช้โคมะเป็นสื่อกลางในการแข่งขันแบบทัวร์นาเม้นต์ ช่วยส่งเสริมให้ช่างฝีมือและวิศวกรในอุตสาหกรรมการผลิตระดับเล็กถึงระดับกลางมีแรงบันดาลใจในการพัฒนาฝีมือและยกระดับวงการธุรกิจ เพื่อการสร้างสรรค์และขยายตลาดการค้าให้กว้างไกล เป้าหมายไม่ใช่เพียงเพื่อบริษัทไทยและบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความต้องการที่จะให้นักเรียนนักศึกษาได้เรียนรู้ถึงความสนุกในการสร้างสรรค์ผลงาน นอกจากจะเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับญี่ปุ่นและบริษัทญี่ปุ่นแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมมิตรภาพของไทยญี่ปุ่นอีกด้วย
รูปแบบการแข่งขันโคมะ กรุงเทพทัวนาเม้นต์
รูปแบบการแข่งขัน
   จัดการแข่งนันรูปแบบทัวร์นาเม้นต์แบบพบกันหมดในรอบคัดเลือก แข่งแบบแพ้คัดออกใน รอบรองและรอบชิงชนะเลิศ (จับฉลากแบ่งกลุ่มในวันแข่งจริง)
กฎ กติกา
แข่ง 1 ต่อ 1บนโดเฮียว(ริงแข่งโคมะ) เพื่อตัดสินผู้ชนะด้วยกฎกติกาดังต่อไปนี้
1)ใช้นิ้วมือหมุนโคมะด้วยมือข้างเดียว
2)เมื่อโคมะหยุดหมุนก่อนโคมะของคู่ต่อสู้ หรือโคมะออกนอกโดะเฮียว ถือว่าแพ้
3)รอบคัดเลือกแข่งแบบพบกันหมด คู่หนึ่งแข่งสามครั้ง ผู้ชนะสองในสามของเกมจะเป็นผู้ชนะ
รอบรองและรอบชิงชนะเลิศแข่งแบบแพ้คัดออก เมื่อชนะติดกันสองครั้งจึงถือว่าชนะ
4)ผู้ชนะได้ยึดโคมะของคู่แข่งเป็นของตน ผู้ชนะเลิศจะได้โคมะทั้งหมดไว้ครอบครอง
5)เส้นผ่าศูนย์กลางของโคมะเมื่ออยู่ในสภาพนิ่งก่อนแข่งจะต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 20มม.
ไม่จำกัดวัสดุ ความหนัก และรูปทรง
6)ไม่อนุญาติให้โคมะมีจุดสัมผัสพื้น 2 จุดเวลาหมุน และ
ไม่อนุญาติให้โคมะเปลี่ยนจุดหมุนหรือกลับแกนหมุนเวลาที่หมุนอยู่
ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน (24~36 ทีม ตามกำหนดการ)
   นิติบุคคลหรือกลุ่มคน (บริษัทไทยและบริษัทญี่ปุ่นในเมืองไทยขนาดเล็กถึงกลาง
สถาบันเทคโนโลยีหรือมหาวิทยาลัยเป็นต้น)
  • http://castem.co.jp/https://www.reedtradex.com/
  • https://www.factorynetasia.com/

    http://www.orientmachine.co.jp/http://www.power-bangkok.com/http://www.gokosp.com/#

komataisen
wise
ANA
central plating
zi-argus